ผลทดสอบประสิทธิภาพชิปเซ็ทระดับกลางอย่าง Dimensity 8100 vs Snapdragon 888 vs Snapdragon 870 vs Dimensity 1200 รุ่นไหนจะมีดีอย่างไรไปติดตามกัน
ปัจจุบันนี้มีชิปเซ็ทในระดับกลางสำหรับการเล่นเกมออกมาให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนเราได้เลือกกันหลากหลายรุ่นมากขึ้นจริงๆ ต้องยอมรับว่าในบางครั้งแล้วด้วยสเปคนั้นก็ทำให้เราเลือกได้ลำบากเหลือเกินว่าจะซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์ไหนรุ่นอะไรดี ในบทความนี้ทาง SpecPhone จึงขอนำเอาผลการทดสอบของชิปเซ็ทระดับกลางมาให้ทุกท่านได้รับชมรับทราบถึงข้อดีข้อเสียกัน โดยชิปเซ็ทที่เลือกมานั้นจะประกอบไปด้วย MediaTek Dimensity 8100, MediaTek Dimensity 1200, Qualcomm Snapdragon 870 และ Qualcomm Snapdragon 888
อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นหลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าทำไมถึงเอา Qualcomm Snapdragon 888 มาเทียบด้วยในบทความนี้เพราะจริงๆ แล้วเจ้า Qualcomm Snapdragon 888 นั้นเป็นชิปเซ็ทระดับท๊อปของปี 2021 ที่ผ่านมา เหตุผลที่ยกมาด้วยนั้นก็เพราะว่าราคาสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 888 นั้นตอนนี้มีราคาลดลงมาพอๆ กับสมาร์ทโฟนที่อยู่ในระดับกลางรุ่นใหม่บางรุ่นแล้ว ถึงแม้ว่าข้อเสียของการซื้อสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 888 นั้นคือการได้รับอัปเดทระบบปฏิบัติการณ์น้อยรุ่นมากกว่าชิปเซ็ทใหม่ๆ แต่ก็อาจจะเป็นเพียงข้อเสียเล็กน้อยเท่านั้น
เอาเป็นว่ามาดูสเปคและผลการทดสอบของชิปเซ็ทแต่ละรุ่นที่ทาง SpecPhone เลือกมาให้ทุกท่านได้รับชมกันดีกว่า แต่ละรุ่นจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันได้เลย
- Qualcomm Snapdragon 870
- Qualcomm Snapdragon 888
- MediaTek Dimensity 1200
- MediaTek Dimensity 8100
- เปรียบเทียบผลการทดสอบของแต่ละชิปเซ็ท
Qualcomm Snapdragon 870
Snapdragon 870 นั้นถูกเลือกมาเป็นชิปเซ็ทแรกเพราะถึงแม้ว่าจะเก่าโดยมีอายุตั้งแต่เปิดตัวมาถึง 2 ปีครึ่งแล้ว ทว่าต้องยอมรับกันจริงๆ ว่า Snapdragon 870 ในปัจจุบันนั้นยังคงได้รับความนิยมอยู่ ด้วยความแรงของทั้งในส่วน CPU และ GPU ทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนหลายๆ แบรนด์เลือกที่จะยังคงใช้งานชิปเซ็ท Snapdragon 870 กับสมาร์ทโฟนของตัวเองอยู่ สำหรับสเปคคร่าวๆ ของ Snapdragon 870 นั้นมีดังต่อไปนี้
CPU Cores 8 (1+3+4) CPU Architecture 1x 3.2 GHz – Kryo 585 Prime (Cortex-A77)
3x 2.42 GHz – Kryo 585 Gold (Cortex-A77)
4x 1.8 GHz – Kryo 585 Silver (Cortex-A55)Instruction set ARMv8.2-A Process 7 nm TDP 10W GPU name Adreno 650 GPU frequency 675 MHz Execution units 2 Shading units 512 FLOPS 1372 Gigaflops Memory LPDDR5 2750 MHz Memory bandwidth 44 Gbit/s Neural processor (NPU) Hexagon 698 Video codecs H.264, H.265, VP8, VP9 Modem X55 (5G, 4G LTE Cat. 24, Bluetooth 5.2, Wi-Fi 6)
ตามสเปคนั้นต้องบอกเลยว่า Snapdragon 870 ไม่ได้ดูแย่อะไรเลย ทำให้คิดว่าหากพึ่งเปิดตัวมาในปีนี้เพื่อที่จะเป็นชิปเซ็ทระดับกลางจริงๆ ด้วยแล้วนั้นก็ดูไม่น่าจะแปลกอะไรมากนัก(อันที่จริงดีกว่าชิปเซ็ทระดับกลางที่ใช้ในสมาร์ทโฟนของปี 2022 จริงๆ เสียอีก) จุดเด่นของ Snapdragon 870 คือการที่มันรองรับหน่วยความจำแบบ LPDDR5 ด้วยทำให้อายุการใช้งานของ Snapdragon 870 นั้นยาวนานมากขึ้น
กราฟิกชิป Adreno 650 นั้นถือว่ามีความแรงในระดับที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมากความสามารถในการประมวลผลภาพแบบ 2 มิติก็สามารถทำได้มากกว่าเครื่องเล่นเกมคอนโซลอย่าง PlayStation 2 ถึง 2 เท่าตัว ทว่าด้วยความที่เป็นฮาร์ดแวร์เก่าแล้วนั้นทำให้ Adreno 650 บน Snapdragon 870 ไม่รองรับการถอดรหัสไฟล์วีดีโอมาตรฐานใหม่อย่าง AV1 แต่หากพูดถึงเรื่องเล่นเกมแล้วล่ะก็ Adreno 650 บน Snapdragon 870 นั้นถือว่ายังคงใช้งานได้อย่างสบายๆ
สำหรับชิปโมเด็ม X55 นั้นก็รองรับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อใหม่ๆ ในปัจจุบันทั้งหมด งานนี้บอกได้คำเดียวว่ามีแต่คุ้มกับคุ้มจริงๆ ที่เราๆ ท่านๆ สามารถหาซื้อสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับชิปเซ็ทที่ยังคงแรงอยู่ในทุกๆ ด้าน แถมยังสามารถหาซื้อได้ในระดับราคาที่คุ้มค่าคุ้มราคาอีกด้วยอีกต่างหาก
Qualcomm Snapdragon 888
ถัดมาเป็นคิวของ Snapdragon 888 อดีตเรือธงประจำปี 2021 ที่ในปัจจุบันนยังคงหาซื้อได้อยู่ถึงแม้ว่าจะเก่าไปแล้วนิดหน่อยก็ตาม สิ่งที่น่าเสียดายก็คือสมาร์ทโฟนที่ใช้งานชิปเซ็ท Snapdragon 888 นั้นยังคงมีราคาแพงอยู่หากเทียบกับสมาร์ทโฟนที่ถูกนำมาเปรียบเทียบทั้งหมดในบทความนี้ อีกทั้งสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ก็ไม่เลือกที่จะใช้ Snapdragon 888 แล้วทำให้หากมองถึงการรองรับอัปเดทระบบปฏิบัติการณ์ใหม่ในอนาคตอาจจะดูด้อยกว่าสมาร์ทโฟนรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ทตัวอื่นๆ สำหรับสเปคคร่าวๆ ของ Snapdragon 888 นั้นมีดังต่อไปนี้
CPU Cores 8 (1+3+4) CPU Architecture 1x 2.84 GHz – Kryo 680 Prime (Cortex-X1)
3x 2.42 GHz – Kryo 680 Gold (Cortex-A78)
4x 1.8 GHz – Kryo 680 Silver (Cortex-A55)Instruction set ARMv8.4-A Process 5 nm TDP 10W GPU name Adreno 660 GPU frequency 840 MHz Execution units 2 Shading units 512 FLOPS 1720 Gigaflops Memory LPDDR5 3200 MHz Memory bandwidth 51.2 Gbit/s Neural processor (NPU) Hexagon 780 Video codecs H.264, H.265, VP8, VP9 Modem X60 (5G, 4G LTE Cat. 22, Bluetooth 5.2, Wi-Fi 6)
Snapdragon 888 นั้นจะคงมีข้อดีคล้ายๆ กับ Snapdragon 870 อยู่พอสมควร ทว่าจุดที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดซึ่งมาจากการใช้งานของผู้ใช้จริงๆ นั้นพบว่าสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับ Snapdragon 888 นั้นตัวเครื่องจะร้อนค่อนข้างไวมากเมื่อใช้งานหนักๆ แถมเมื่อเครื่องร้อนแล้วประสิทธิภาพในการใช้งานก็ลดลงตามลงไปด้วย เรื่องดังกล่าวนี้นั้นถือว่าแปลกพอสมควรเพราะ Snapdragon 888 นั้นใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 5nm ซึ่งควรที่จะจัดการเรื่องความร้อนได้ดีกว่า Snapdragon 870 ที่ใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 7nm
มีผู้เชี่ยวชาญได้ลงความเห็นกันเอาไว้ว่าปัญหาเรื่องการจัดการความร้อนของ Snapdragon 888 นี้นั้นถือว่าเป็นปัญหาหลักที่สุดของชิปเซ็ทรุ่นนี้(รวมถึง Snapdragon 888 Plus ด้วย) เพราะปัญหาดังกล่าวนั้นทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานจริงไม่แรงแบบต่อเนื่องเท่าที่ควร ณ จุดนี้นั้นน่าจะเกิดมาจากการที่ทาง Qualcomm ใช้สถาปัตยกรรม Kryo 680 Prime ที่มีฐานมาจากสถาปัตยกรรม ARM Cortex-X1 ที่เป็นสถาปัตยกรรมใหม่ในการออกแบบ ณ เวลานั้น แถมในส่วนของชิปกราฟิกเองนั้นก็มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงสุดสูงมากขึ้นกว่าชิปเซ็ทเรือธงรุ่นก่อนหน้าอย่าง Snapdragon 865(รวมทั้ง Snapdragon 870) ประมาณ 24% เมื่อรวมกันแล้วนั้นเลยทำให้ Snapdragon 888 ทำงานหนักทั้งส่วน CPU และ GPU จนเกิดความร้อนสะสมได้เร็วมากกว่าปกตินั่นเอง
ข้อเสียอีกจุดหนึ่งของ Snapdragon 888 นั้นก็คือการไม่รองรับมาตรฐานการเข้ารหัสไฟล์วีดีโอใหม่อย่าง AV1 เพราะตัวชิปเซ็ทนั้นเป็นชิปเซ็ทรุ่นเก่าแล้ว ทว่าหากมองในแง่ของการใช้งานจริง ณ ปัจจุบันนั้นก็ยังคงไม่มีปัญหาอะไรให้หน้าหนักใจเท่าไรนัก แต่หากคุณเป็นคนที่จะไม่ได้ซื้อสมาร์ทโฟนบ่อยๆ ทุกปีแล้วงานนี้ก็อาจจะมีปัญหานิดหน่อยเพราะหากในอนาคตมีการเริ่มใช้งานไฟล์วีดีโอมาตรฐาน AV1 มากขึ้น จะทำให้ชิปเซ็ทของทาง Qualcomm ในปัจจุบันต้องถอดรหัสผ่านทางซอฟต์แวร์แทน(ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องของความเร็วในการประมวลผลและความคมชัดของภาพ)
MediaTek Dimensity 1200
มาถึงคิวของคู่แข่งที่กำลังมาแรงอย่าง MediaTek กับรุ่น Dimensity 1200 ที่เปิดตัวออกมาได้ 2 ปีกว่าแล้วแต่ทว่าหากจะมองหาซื้อสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับชิปเซ็ท Dimensity 1200 แล้วนั้นต้องคิดหนักหน่อยเพราะว่าค่อนข้างหายากในตลาดไทยบ้านเรา แถมด้วยตอนที่ Dimensity 1200 เปิดตัวออกมานั้นก็ถูกจับไปเป็นคู่แข่งกับชิปเซ็ทที่แรงกว่าอย่าง Qualcomm Snapdragon 888 ซึ่งเป็นเรือธงในช่วงเดียวกันไปโดยปริยาย ทำให้ด้วยประสิทธิภาพของ Dimensity 1200 ตอนนั้นไม่สามารถที่จะสู้ Snapdragon 888 ได้ สำหรับสเปคคร่าวๆ ของ Dimensity 1200 นั้นมีดังต่อไปนี้
CPU Cores 8 (1+3+4) CPU Architecture 1x 3 GHz – Cortex-A78
3x 2.6 GHz – Cortex-A78
4x 2 GHz – Cortex-A55Instruction set ARMv8.2-A Process 6 nm TDP 10W GPU name ARM Mali-G77 MC9 GPU frequency 850 MHz Execution units 9 Shading units 144 FLOPS 802 Gigaflops Memory LPDDR4X 4266 MHz Memory bandwidth 44 Gbit/s Neural processor (NPU) MediaTek APU 3.0 Video codecs H.264, H.265, AV1, VP9 Modem 5G, 4G LTE Cat. 19, Bluetooth 5.2, Wi-Fi 6
เอาจริงๆ แล้วสเปคของ Dimensity 1200 เองนั้นก็ดีพอสมควรและถือว่าเป็นการยกระดับชิปเซ็ทของทาง MediaTek ที่เคยเป็นมวยรองซึ่งคนมักจะมองว่ามีประสิทธิภาพต่ำมาโดยตลอด ทำให้ผู้ใช้หันมาสนใจสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปเซ้ทของทาง MediaTek มากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก แถมผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเองก็ตอบรับเอาความต้องการดังกล่าวนั้นไปผลิตสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับชิปเซ็ทซีรีย์ Dimensity รุ่นแรกในช่วงปี 2021 กันยกใหญ่แม้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมจะไม่สามารถนำไปเทียบกับชิปเซ็ทของทาง Qualcomm ในช่วงเวลาเดียวกันได้ก็ตาม
สิ่งหนึ่งที่ทาง MediaTek ยังคงไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ในช่วงของการออกชิปเซ็ท Dimensity ซีรีย์แรกนั่นก็คือเรื่องประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่แม้กระทั่ง Dimensity 1200 ที่เป็นชิปเซ็ทตัวท๊อปสุด ณ ตอนนั้นของทาง MediaTek เองก็ยังไม่สามารถขับประสิทธิภาพในการเล่นเกมให้เท่ากับคู่แข่งอย่างชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 865(รวมถึง Snapdragon 870) ได้ ด้วยจุดนี้เองนั้นทำให้ ณ เวลานั้นสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปเซ็ท Dimensity 1200 ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเล่นเกมมือถือมากเท่าไรนัก(และเป็นเหตุผลให้ตัวสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับชิปเซ็ท Dimensity 1200 วางจำหน่ายเฉพาะบางตลาดในโลกอีกด้วย)
อย่างไรก็ตามหากมองข้ามจุดนั้นไปแล้ว Dimensity 1200 ก็ถือว่าเป็นชิปเซ็ทที่ดีรุ่นหนึ่งเพราะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่รองรับการถอดรหัสไฟล์วีดีโอมาตรฐาน AV1 ที่ทำให้สมาร์ทโฟน Dimensity 1200 นั้นรองรับการใช้งานในระยะยาวได้อีกด้วย
MediaTek Dimensity 8100
และแล้วก็มาถึงพระเอกของทาง MediaTek กับ Dimensity 8100 ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมในการนำไปผลิตสมาร์ทโฟนมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยราคาค่าตัวที่ค่อนข้างถูกหากเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ แถม Dimensity 8100 ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกหลายอย่างที่น่าจับตามอง สำหรับสเปคของ Dimensity 8100 อย่างคร่าวๆ นั้นจะมีดังต่อไปนี้
CPU Cores 8 (4+4) CPU Architecture 4x 2.85 GHz – Cortex-A78
4x 2 GHz – Cortex-A55Instruction set ARMv8.2-A Process 5 nm TDP 8W GPU name Mali-G610 MC6 GPU frequency 912 MHz Execution units 6 Shading units 96 FLOPS 916 GFLOPS Memory LPDDR5 3200 MHz Memory bandwidth 51.2 Gbit/s Neural processor (NPU) MediaTek APU 580 Video codecs H.264, H.265, AV1, VP9 Modem 5G, 4G LTE, Bluetooth 5.3, Wi-Fi 6
Dimensity 8100 นั้นถือว่าเป็นชิปเซ็ทระดับกลางที่ใหม่เอามากๆ ทำให้ข้อมูลการทดสอบและการใช้งานจริงของ Dimensity 8100 เองนั้นมีค่อนข้างที่จะน้อยมาก อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นหากมองจากสเปคโดยรวมของ Dimensity 8100 กับประสิทธิภาพที่หลุดออกมาพร้อมกับราคาของสมาร์ทโฟนที่เปิดตัวว่าจะใช้งานชิปเซ็ท Dimensity 8100 ด้วยแล้วนั้นต้องบอกเลยว่าคุ้มมากจริงๆ ในอนาคตเชื่อว่าสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับชิปเซ็ท Dimensity 8100 นั้นน่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น
เปรียบเทียบผลการทดสอบของแต่ละชิปเซ็ท
ด้วยความที่ชิปเซ็ท MediaTek Dimensity 8100 พึ่งจะมีการเปิดตัวออกมาเพียงแค่รุ่นเดียวเท่านั้นทำให้ผลการทดสอบของ MediaTek Dimensity 8100 เองจึงน้อยมาก ดังนั้นเพื่อความยุติธรรมเราจึงขอนำเอาเฉพาะผลคะแนนการเปรียบเทียบโดยอ้างอิงจากผลคะแนนที่มีหลุดออกมาแล้วของชิปเซ็ท MediaTek Dimensity 8100 เป็นหลัก สำหรับผลการทดสอบประสิทธิภาพในชิปเซ็ทแต่ละรุ่นข้างต้นนั้นจะมีดังต่อไปนี้
การทดสอบ Snapdragon 870 Snapdragon 888 Dimensity 1200 Dimensity 8100 AnTuTu 9 696867 807038 677575 786607 GeekBench 5 1007/3387 1137/3712 984/3335 932/3829 3DMark 4166 5234 4190 5681 PUBG Mobile 88 FPS
[Ultra]83 FPS
[Ultra]68 FPS
[Ultra]– Call of Duty: Mobile 59 FPS
[Ultra]60 FPS
[Ultra]60 FPS
[High]– Fortnite 27 FPS
[Ultra]26 FPS
[Ultra]28 FPS
[Low]– Shadowgun Legends 102 FPS
[Ultra]89 FPS
[Ultra]71 FPS
[Ultra]– World of Tanks Blitz 107 FPS
[Ultra]112 FPS
[Ultra]88 FPS
[Ultra]– Genshin Impact 49 FPS
[Ultra]58 FPS
[Ultra]51 FPS
[Ultra]– Mobile Legends: Bang Bang 60 FPS
[Ultra]60 FPS
[Ultra]60 FPS
[Ultra]–
จากตารางคะแนนนั้นในส่วนของการทดสอบด้วยแอปพลิเคชัน Benchmark ชื่อดังพบว่า Dimensity 8100 มาแรงจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลการทดสอบด้วย Geekbench แบบ multi core ที่ได้คะแนนมากกว่า Snapdragon 888 อยู่เล็กน้อย
เช่นเดียวกันกับคะแนนการทดสอบประสิทธิภาพของชิปกราฟิกด้วย 3DMark ที่ Dimensity 8100 ได้คะแนนมากกว่าชิปเซ็ทรุ่นอื่นๆ ทว่าด้วยความที่สมาร์ทโฟนที่ใช้ชิปเซ็ท Dimensity 8100 พึ่งจะวางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา(ในบางตลาดของโลก) ทำให้ยังคงไม่มีผลการทดสอบการใช้งานกับการเล่นเกมจริงเผยออกมาให้ได้เห็น แต่ดูจากแนวทางของคะแนนแล้วนั้นน่าจะดีไม่น้อย คงจะต้องคอยติดตามผลคะแนนกันอีกทีสำหรับผู้ที่ต้องการรอดูประสิทธิภาพที่แท้จริงโดยเฉพาะกับการเล่นเกมของชิปเซ็ท Dimensity 8100
ที่มา : nanoreview 1, nanoreview 2, nanoreview 3, nanoreview 4, chipguider